ปกติเมื่อทำผิดกฎ จราจร ตำรวจจราจรมักยึดใบขับขี่แล้วให้ไปจ่ายค่าปรับที่สถานีตำรวจ แต่ก็มีความเห็นว่า ตำรวจไม่มีอำนาจยึด เพราะใบขับขี่เป็นทรัพย์สิน การยึดใบขับขี่จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หากต่อไปตำรวจยึดใบขับขี่ก็ให้แจ้งความกลับว่า ตำรวจลักทรัพย์ เมื่อแรกเห็นความเห็นนี้ ก็น่าสนใจอย่างยิ่งว่า เป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ จึงเป็นมูลเหตุให้ดำเนินการค้นคว้าว่า ตำรวจมีอำนาจยึดใบขับขี่หรือไม่
ใบ ขับขี่เป็นทรัพย์สิน ปกติคนอื่นเอาทรัพย์สินเราไปโดยไม่มีสิทธิ ย่อมเป็นความผิดในฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๔๔ ได้ ซึ่งวางหลักว่า ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นไป ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์ โดยการเอาไปในที่นี้ต้องเป็นการเอาไปโดยไม่มีสิทธิหรือไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ดังนั้น หากผู้เอาไปซึ่งทรัพย์สินมีสิทธิหรืออำนจตามกฎหมาย ผู้เอาไปยอมไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ เช่น ลูกหนี้ที่แพ้คดีแพ่งในศาล และไม่ยอมชำระเงินตามคำพิพากษา ต่อมาศาลออกคำสั่งยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาด แม้ลูกหนี้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีอำนาจตามกฎหมายที่จะยึดทรัพย์ได้ เป็นต้น
ซึ่งกรณีนี้ก็จะไปแจ้งความว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีลักทรัพย์ก็ไม่ได้ แต่น่าคิดที่ว่า ตำรวจจราจรมีอำนาจในการยึดใบขับขี่หรือไม่ ซึ่งพิจารณาเป็นลำดับได้ดังนี้
ประการ แรก ในระบบกฎหมายไทย เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ย่อมเป็นผู้ที่มีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ในการจำหน่าย จ่าย โอน ทร้พย์สิน รวมถึงทำลายทรัพย์สินนั้นได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ บัญญัติไว้ว่า
(คลิป)